10-05-2563
สวนลุงโกวิทย์
โกวิทย์ วงษ์สุวรรณ์ สมาชิกสหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา จำกัด ในแต่ละวันยังคงเดินเข้าสวนมะม่วง เพื่อใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง ห่อมะม่วงในสวนด้วยความใส่ใจ เพราะนี่คือความซื่อสัตย์ที่เขามีต่อลูกค้า มะม่วงที่ออกจากสวนต้องมีคุณภาพ ต้องหวาน ต้องไม่มีสารเคมีตกค้าง และถ้าทำได้แบบนี้ คุณโกวิทย์เชื่อว่า เมื่อผลผลิตออกมามากแค่ไหน ก็สามารถขายได้ และในช่วงที่รอมะม่วงน้ำดอกไม้พร้อมให้เก็บผลผลิต คุณโกวิทย์และภรรยาสามารถเก็บมะม่วงฟ้าลั่นซึ่งปลูกในพื้นที่เดียวกันเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งได้รับการสั่งซื้อจากสหกรณ์ฯ
สหกรณ์ชมรมชาวสาวมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา จำกัด เป็นสหกรณ์หลักที่รับซื้อผลผลิตของสมาชิกเกือบทั้งหมด ปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิกกว่า 170 คน มีพื้นที่ปลูกมะม่วงกว่า 10,000 ไร่ ซึ่งมีทั้งสายพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง และสายพันธุ์อื่น ๆ โดยสามารถรวบรวมผลผลิตได้ถึงปีละประมาณ 7,000 ตัน สหกรณ์จะรวบรวมมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก รวมทั้งส่งห้างสรรพสินค้า ตลาดทั่วไป และแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ทั้งนี้สหกรณ์ยังพัฒนาความน่าเชื่อถือให้กับผลผลิตของเกษตรกรในกลุ่ม โดยพัฒนาระบบการตรวจสอบย้อยกลับ หรือ QR Code ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ สหกรณ์แห่งนี้ จึงเป็นสหกรณ์ที่ประสบความสำเร็จในอันดับต้น ๆ ของประเทศ ทั้งในเรื่องการจัดการ และการช่วยเหลือดูแลสมาชิก สนับสนุนปัจจัยการผลิตต่างๆ ได้มีการแนะนำให้สมาชิกหันมาปลูกมะม่วงสายพันธุ์น้ำดอกไม้ เพื่อลดปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ เพราะตลาดมีความต้องการมะม่วงน้ำดอกไม้สูงกว่ามะม่วงสายพันธุ์อื่น ๆ และที่ผ่านมาสหกรณ์ได้ส่งเสริมโดยการจากกิ่งพันธุ์ฟรีให้กับเกษตรกรสมาชิก รายละ 300 กิ่ง ปลูกในพื้นที่ 5 ไร่ รวมทั้งดูแลสมาชิกตั้งแต่ต้นน้ำ การส่งเสริมการปลูก กลางน้ำ การดูแลจัดการแปลง การดูแลผลผลิตให้ได้คุณภาพ และปลายน้ำ การจัดหาตลาด และการทำมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ทำให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน
ข้าวเหนียวมะม่วงเมนูหนึ่งในของหวานที่นิยมของชาวต่างชาติ
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง
บริษัท เอพี รีไซเคิล อินดัสเตรียล จำกัด ผู้ผลิตกระดาษรีไซเคิล 100%
http://www.aprecycle.com/ ร่วมกับบริษัท เอพี รีไซเคิล อินดัสเตรียล จำกัด ผู้ผลิตกระดาษรีไซเคิล 100%
สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยบูรพาที่นำผลงานวิจัยมาต่อยอดผลิตภัณฑ์
กองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม – Research and Innovation esearch and Innovation
พิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เพื่อสนับเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้พันธ์สีทอง ผลที่ได้รับสามารถนำมาซึ่งประโยชน์กับเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้หลากหลายประเภท
โดยมีหัวข้อหลักคือ การนำกระดาษรีไซเคิลมาผสมสูตรจากสมุนไพรธรรมชาติช่วยในการป้องกันแมลง และยืดอายุการเก็บรักษา
ได้รับการสนับเสนอเงินจาก
กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม http://www.tedfund.most.go.th/index.php
.jpg)
มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของประเทศไทยประสบความสำเร็จในการส่งออกมากที่สุด และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วทุกมุมโลก โดยมีญี่ปุ่นเป็นตลาดหลัก ปัจจุบันมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง สามารถเข้าไปมีส่วนแบ่งในตลาดยุโรป นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน ฯลฯ โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาชนจีนมีตัวเลขการสั่งซื้อมะม่วงน้ำดอกไม้จากประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจีนมีความเชื่อเรื่องสีที่เป็นมงคล เช่นสีเหลืองทอง ดังนั้นประเทศไทยจึงมีโอกาสที่ดีในการพัฒนาเป็นผู้นำด้านการตลาดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ให้เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในจีน
ตลาดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ส่วนใหญ่สามารถส่งจำหน่ายผล “สุก” เพราะมีรสชาติหวาน หอม ในกรณีผลดิบ ตลาดผู้บริโภคที่ชอบรับประทานเปรี้ยว หรือนำมาทำอาหารประเภทยำได้ดีที่สุด เพราะในต่างประเทศอย่างเช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี นิยมรับประทานกันมาก และมีการส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้ดิบเป็นอันดับต้น ๆ อีกด้วย ดังนั้นจึงแสดงถึงศักยภาพและความต้องการของตลาดที่ยังขยายได้อีกมาก ตราบใดที่ไทยสามารถผลิตและส่งออกผลมะม่วงที่มีคุณภาพเกรดสูง รสชาติอร่อย และปลอดภัยไร้สารเคมีตกค้างไปจำหน่าย ประเทศไทยมีนโยบายผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการลงในในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยผลิตโดยการลงทุนชนิดนี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นี้จะมีทางด้านการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอยู่ระหว่างการจัดมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และยังได้สนับสนุนมาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง เป็นมาตรการทางด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการสนับสนุนเงินทุน โดยกลุ่มคลัสเตอร์การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีโอกาสได้รับการสนับสนุนด้วย
ด้วยเหตุนี้ ทางผู้ประกอบการ จึงได้มีการทำความร่วมมือกับนักวิจัยของ มหาวิทยาลัย บูรพา ในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับห่อหุ้มผลมะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งจะสามารถปกป้องผิวของมะม่วงจากศัตรูแมลงไม้ผล โดยใช้กลิ่นสมุนไพรจากธรรมชาติ และใช้กระบวนการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ด้วยการอัดโมลด์ ด้วยระบบไฮดรอริก



เพื่อส่งเสริมให้ความรุู้ให้กับกลุ่มเกษตรสามารถผลิตอุปกรณ์ป้องกันผลผลิตเองได้ โดยไม่ต้องสารเคมีเคมีตกค้าง จึงเป็นการยกระดับคุณภาพของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ให้มีเกรดในระดับพรีเมียมสามารถส่งออกต่างประเทศ สร้างเอกลักษณ์ผลไม้ไทยด้วยการใช้นวัตกรรมการออกแบบสำหรับการส่งออกด้วยการนำวัสดุหลักที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลที่เป็นการยอมรับของโลกมาออกแบบบรรจุภัณฑ์ของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองให้เป็นที่ยอมรับและขยายผลไปสู่ผลไม้ประเภทอื่น ๆ ที่มีโอกาสในการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในอนาคต ด้วยการออกแบบให้ภาพลักษณ์ของผลไม้ไทยด้วยลายไทย


ความเป็นไปได้ทางการตลาดกับการการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ (Product Development)
- นำมาใช้ในเกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมอื่นได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องการกำจัดของเสีย
- นำมาพัฒนาให้เกิด Product ใหม่เพิ่มมูลค่าโดยใช้นวัตกรรมการออกแบบช่วยสนับสนุนและสร้างภาพลักษณ์ของผลไม้ไทย
ข้อที่ 1. สร้างกิจกรรมเพื่อสังคม ด้วยแนวทาง Social Businees เพื่อค้นหาผู้ที่สามารถสร้างมูลค่าธุรกิจด้านกิจกรรม ได้รับความสนใจและร่วมเป็นพันธมิตร เช่น และเพื่อรวบรวมบุคลากร ที่มีแนวคิดร่วมกันในการสร้างกิจกรรมต่างๆ จนทำให้มีแนวร่วมในการสร้างมูลค่าทางสังคมด้วยกัน และใช้กิจกรรมเป็นช่องทางในการขยายทางการตลาด เมื่อแนวเป็นที่ยอมรับย่อมหมายถึงกิจการแนวร่วมในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในมือเป็นการสร้างการยอมรับในผลิตภัณฑ์ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืน
ข้อที่ 2. เป็นการพัฒนาให้เกิด product ใหม่สำหรับกิจกรรมในข้อที่ 1 โดยสนับสนุนด้านความรู้ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สู่ภาคการผลิตให้สามารถแข่งขันในระดับการส่งออกได้ตัวอย่างเครือข่ายที่เกิดจากกิจกรรม TDCD

https://www.dip.go.th/th/news/category/service link งานบริการ
.png)
http://smi.or.th/ link เวปไซ้ค์
.jpg)
สำหรับแนวคิดการของ “โครงการนี้เป็นแนวคิดการนำอุตสาหกรรมกระดาษรีไซเคิลสู่อุตสาหกรรมเกษตร”
การทดสอบด้านตลาด (Market Testing)
กลุ่มที่เราเลือกคือ กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก โดยบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาจากนำกระดาษรีไซเคิลมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการการป้องกันแมลงด้วยสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สร้างเอกลักษณ์ผลไม้ไทย
ตารางเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างการบริหารจัดการของผู้ปลูก
กลุ่มเกษตรกรปลูกเพื่อส่งออก | กลุ่มเกษตรกรปลูกเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ |
มีอำนาจในการต่อรองเนื่องจากมีการรวมกลุ่ม | อำนาจต่อรองอยู่ที่คุณภาพสินค้า |
ปรับตัวเข้ากับเงื่อนไข และเป้าหมายของกลุ่ม | ปรับตัวตามเงื่อนไขของตลาด |
มีระบบช่วยทำตลาด หรือ ผ่านตัวแทนบริหารจัดการ การพัฒนาและเติบโตขึ้นอยู่กับตัวแทน | ไม่มีตัวช่วย ในการบริหารจัดการด้านตลาด การบริหารจัดการอยู่ที่ความสามารถของตัวเอง |
มีตลาดรองรับสม่ำเสมอ | ตลาดรองรับไม่แน่นอน |
มีการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาปรับปรุง และพัฒนา | ไม่มีการเก็บข้อมูล ทำไปตามธรรมชาติ |
จากการออกสำรวจ กลุ่มที่เลือกในการทำการทดสอบคือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกเพื่อการส่งออก เป็นอันดับแรก เนื่องจากกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา และตัวแทนมีการบริหารจัดการทำให้มีข้อมูลในการนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทางผู้ประกอบการได้ตรงเป้าหมาย ส่วนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเพื่อจำหน่ายในประเทศ จะอยู่ในส่วนการให้ความรู้เพื่อให้กลุ่่มนี้มีแนวคิดในการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและต่อยอด
วิสัยทัศน์ และกลยุทธ การนำสินค้าเข้าสู่ตลาด
1. ผลิตภัณฑ์ต้นทุนต่ำ แนะนำขบวนการที่เลือกใช้วัสดุที่สามารถจัดหาได้ด้วยตนเอง และภายในท้องถิ่นได้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สำหรับใช้เป็นเอกลักษณ์ของสินค้า
2. ขบวนการในการผลิตไม่ต้องมีการติดตั้งเครื่องจักรใหม่ แต่ใช้แนวคิดการส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดของอุตสาหกรรมที่เป็นผลจากอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการ เปลี่ยนจากการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำลายให้เป็นมูลค่าต่ออุตสาหกรรมอื่นที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีการที่จะจัดหาอุปกรณ์ในการผลิตสำหรับการต่อยอดจากโรงงานสู่ท้องถิ่น แทนการเพิ่มขบวนการผลิตที่โรงงาน ให้เป็นการสร้างขบวนการผลิตในชุมชนแทน ลดปัญหาเรื่องแรงงาน และต้นทุนการผลิต
3. เพื่อสร้างกำลังการผลิตที่เกิดจากผู้บริโภคเอง ทำให้เกิดความยั่งยืน และสามารถขยายกลุ่มเป้าหมายเริ่มต้น เนื่องจากเป็นสินค้าที่ใช้กับอุตสาหกรรมเกษตรได้หลากหลายชนิด
การสร้างกลุ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในการวางตลาด
เริ่มจากกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มโดยผ่านกิจกรรมของโรงงาน เอพี รีไซคิล อินดัสเตรียล จำกัด ผู้ผลิตวัสถุดิบเป็นกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการผลิตกระดาษ
กลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรกที่เป็นตัวแทนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ คือกลุ่มนักศึกษาของสถาบันการศึกษาต่างๆภาพดูงาน

กลุ่มตัวแทนที่สองเป็นกลุ่มสหกรณ์ ที่มีระบบการจัดการการกระจายผลิตภัณฑ์
ขอบเขตของตลาดที่จะกระจายผ่านตัวแทน หรือสหกรณ์ต่างๆ ซึ่งเราได้ข้อมูลจากหน่วยงาน และลงพื้นที่สำรวจเพื่อนำข้อมูลมาปรับให้เหมาะสมกับเกษตรกรผู้ใช้ และเวปไซต์ได้โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เพื่อสามารถเก็บข้อมูลภายหลังต่อในอนาคตได้ https://forms.gle/HfzR8hT53mVG1Qu49

ข้อที่ 4. การสร้าง Branding ของสินค้า ( ภาพตัวอย่างบรรจุภัฒฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย )
แนวคิดของผลิตภัณฑ์ในเรื่องการสร้างแบรนด์ ของผลิตภัณฑ์ มาจากกลไกทางสังคม เนื่องจากการยอมรับเทรนในเรื่อง Green Product เป็นขบวนการผลิตสินค้า Recycle ทำให้การยอมรับของสินค้าเป็นสากล ดังนั้นการสร้างBranding จึงเป็นเรื่องของกิจกรรม แนวการเข้าตลาดเราจะเน้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของการขยายช่องทางการจำหน่ายไปยังผู้บริโภค ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงสามารถต่อยอดไปไม่มีที่สิ้นสุด ภายใต้ Branding ที่สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อสนับสนุนแนวคิดของ “ The World We Care”
เข้าร่วมเครือข่ายภายในประเทศ และต่างประเทศ ภาพกิจกรรมภายในประเทศ และต่างประเทศ


ข้อที่ 5. การประชาสัมพันธ์ ภาพกิจกรรมต่างๆ
สุดท้ายเราหวังว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์แก่สังคม และประเทศ และหากผู้ที่สนใจสามารถสอบถามและขอรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้muj ของเราได้
https://easyapp.work/Apps/nc/index.php?uid=048c860c84

